ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เอเชียนเกมส์ 1998

เอเชียนเกมส์ 1998 เป็นการแข่งขัน เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 จัดขึ้นที่ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 6 ธันวาคม ถึง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2541 มีประเทศเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 41 ประเทศ และมีกีฬาแข่งขันทั้งหมด 36 ชนิด โดยสนามแข่งขันที่ใช้เป็นหลัก คือ ศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต ศูนย์กีฬาหัวหมาก การกีฬาแห่งประเทศไทย และ ศูนย์กีฬาเมืองทองธานี

คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 23 และ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 มีมติอนุมัติในหลักการให้กำหนดเป็นนโยบายบันได 3 ขั้น สู่การพัฒนากีฬาของชาติ โดยให้ประเทศไทยรับการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬา 3 ระดับ ได้แก่ ซีเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ และโอลิมปิกเกมส์ และมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทย เสนอตัวรับเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ในปี พ.ศ. 2541 ต่อสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (โอซีเอ)

หลังจากที่ตณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในการที่ประเทศไทยขอรับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 แล้ว คณะทำงานทุกท่านช่วยกันอย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันก็ได้รับความอนุเคราะห์จากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประแทศไทยฯ การกีฬาแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้มีการประชุมวางแผนมาเป็นระยะ ๆ และได้จัดทำเอกสารเผยแพร่ เพื่อนำไปมอบให้ผู้แทนชาติต่าง ๆ ที่เข้าร่วมประชุมและที่สำคัญคณะทำงานได้จัดทำวีดิทัศน์ที่แสดงถึงความพร้อมในด้านต่าง ๆ ของประเทศไทย เพื่อประกอบการบรรยายเสนอขอเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13

คณะกรรมการบริหารสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ได้ประชุมเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2533 ณ โรงแรมปักกิ่ง พาเลซทาวเวอร์ และมีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ให้บรรจุวาระการประชุมเลือกประเทศเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ในปี พ.ศ. 2541 ในการประชุมใหญ่สภาโอลิมปิกแห่งเอเชียในวันรุ่งขึ้น โดยมีประเทศที่เสนอขอสมัครเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันครั้งนี้รวม 3 ประเทศ คือ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย, กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย, กรุงไทเป ไต้หวัน

การประชุมใหญ่สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ที่ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งสิ้น 37 ประเทศ ได้ประชุมเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2533 ณ โรงแรมปักกิ่ง โดยให้ผู้แทนของประเทศที่เสนอขอรับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันบรรยายเสนอผลงานการเตรียมตัวรับเป็นเจ้าภาพ (Presentation) ตามลำดับพร้อมทั้งตอบข้อซักถามของผู้แทนประเทศสมาชิกต่าง ๆ จนเป็นที่พอใจแล้ว จึงได้มีการลงคะแนนลับเพื่อเลือกประเทศเจ้าภาพต่อไป

ที่ประชุมจึงมีมติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ในปี พ.ศ. 2541 ต่อจากเมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ทำให้ประเทศไทยกลายได้จัดกีฬาเอเชี่ยนเกมส์มากที่สุดถึง 4 ครั้ง คือ เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5 ,เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 6 ,เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 8 และเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13

รัฐบาลไทยได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการอำนวยการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 อย่างเป็นทางการเพื่อเตรียมการรองรับการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ขึ้นในปี พ.ศ. 2536 โดยมี นายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พร้อมกับได้แต่งตั้งคณะกรรมการออกเป็น 6 สาขา เพื่อดำเนินงานเร่งด่วนในการก่อสร้างสนามรวมทั้งหมู่บ้านนักกีฬาเพื่อรองรับการจัดการแข่งขัน ได้แก่

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของคณะกรรมการดำเนินการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ขึ้นใหม่ เพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมี นายพิชัย รัตตกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดการแข่งขันฯ และได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันฯ เป็น 9 ฝ่าย ภายใต้การดูแลของสำนักเลขาธิการ ได้แก่

สัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ได้มาจากการประกวดที่จัดโดยกีฬาแห่งประเทศไทย ในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการอำนวยการแข่งขันฯ ซึ่งมีภาพส่งเข้าประกวดจากทั่วประเทศทั้งหมด 181 ภาพ ภาพที่ได้รับคัดเลือกเป็นผลงานของ นางสาวตรึงใจ ตั้งสกุล นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยนำเอาตัวอักษร "A" ในภาษาอังกฤษ ที่หมายถึงทวีปเอเชียมาประยุกต์เป็นรูปองค์พระมหาเจย์ดีสีทองที่ใช้เก็บพระบรมสารีริกธาตุ สิ่งสำคัญสูงสุดของศาสนาพุทธ ซึ่งอักษรตัว "A" อยู่ภายใต้หลังคาทรงไทย มีความบ่งบอกถึงชาวเอเชีย (Asia) และนักกีฬา (Athlete) ที่มาร่วมการแข่งขันทุกชาติ จะได้รับความอบอุ่นด้วยมิตรไมตรีของประเทศไทยในฐานะเจ้าบ้าน สำหรับรูปดวงอาทิตย์สีแดงเปล่งรัศมีเป็นเปลว 16 แฉก ที่อยู่เหนือสัญลักษณ์ฯ นั้น คือ สัญลักษณ์ของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ที่หมายถึง ความรอบรู้ พลังของนักกีฬาที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาอย่างไม่มีวันสิ้นสุด

สัญลักษณ์ Bangkok 1998 เป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักทางกราฟิกที่มีบทบาทอย่างสูงกำหนดเอกลักษณ์ของการแข่งขันที่สาขาศิลปกรรมและการออกแบบเพิ่มเติมขึ้นมาในระบบ เพื่อช่วยให้การสร้างภาพลักษณ์ของการแข่งขัน มีความเด่นชัด เป็นสากล มีความยืดหยุ่นในการใช้งานและเพิ่มสุนทรียภาพ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มประโยชน์ใช้สอยในด้านของการประชาสัมพันธ์ชื่อของเมืองที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันให้เป็นที่ปรากฏ

สัญลักษณ์นี้มีการนำไปใช้ในลักษณะต่างๆ ค่อนข้างมาก เช่น การตกแต่งศูนย์กีฬาและสนามแข่งขัน การจัดทำวัสดุสิ่งพิมพ์เพื่อส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ เอกสารที่ใช้ในการแข่งขัน เป็นต้น

"มิตรภาพไร้พรมแดน" หรือ "Friendship Beyond Frontiers" คำขวัญประจำการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 เป็นวลีที่สะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์อันบริสุทธิ์ของคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ที่สนับสนุนและส่งเสริม "ปรัชญาของการแข่งขันกีฬา" อย่างชัดเจนที่สุด หัวใจของปรัชญากีฬา คือ การรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย รู้รักสามัคคี มีน้ำใจ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดภาพรวมของมิตรภาพ ซึ่งจเไม่มีอุปสรรคใดๆ มาขวางกั้น ไม่ว่าจะเป็น เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมและประเพณีที่ต่างกัน ฯลฯ เมื่อทุกคนเข้าสู่เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ทุกคนจะถูกหล่อหลอมให้เข้าสู่แนวร่วมเดียวกัน เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในที่สุด โดยคำขวัญนี้เป็นแนวความคิดของ นายสุขวิช รังสิตพล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันฯ

หลังจากประเทศสมาชิกสภาโอลิมปิกแห่งเอเซีย 43 ชาติ มีมติให้เกียรติประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ จึงมีมติเห็นชอบให้ใช้ช้าง เป็นมาสคอต หรือ สัตว์นำโชคของการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 เนื่องจากช้างเป็นสัญลักษณ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองของไทยมาแต่โบราณ ทั้งยังเป็นสัตว์ที่แข็งแรง มีความเฉลียวฉลาด

สำหรับผู้ออกแบบนั้น สำนักเลขาธิการได้มอบหมายให้นายอรรณพ กิตติชัยวรรณ หรือ แอ้ด มติชน นักวาดการ์ตูนชื่อดังของหนังสือพิมพ์มติชน เป็นผู้วาดภาพช้าง และเพื่อให้เกิดภาพสัญลักษณ์ที่สมบูรณ์พร้อมกับประชาสัมพันธ์ให้ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดให้มีการประกวดตั้งชื่อช้างนำโชคดังกล่าว ปรากฏว่ามีผู้สนใจจากทั่วประเทศ 538 คน ตั้งชื่ส่งเข้าประกวด และมีการตัดสินในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 โดยมี นายปัจจัย บุนนาค เป็นประธานผู้ตัดสิน ผลการตัดสินให้ใช้ชื่อช้างนำโชคว่า "ช้างไชโย" ซึงเมื่อรวมกันแล้วจึงมีความหมายถึงความแข็งแรง ความฉลาด ความสุขและความสนุกสนาน

ลายจักสาน เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 โดยกำหนดให้ใช้ประกอบในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ หรือโฆษณาการแข่งขัน โดยสื่อความหมายถึงความเป็นเอกภาพในดินแดนเอเชียและสะท้อนคุณค่าถึงมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ โดยไม่เจาะจงว่าเป็นประเทศใดเพราะลายจักสานเป็นศิลปะทางวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของประเทศส่วนใหญ่ในทวีปเอเชีย นอกจากนี้ ลายจักสานยังถือเป็นสัญลักษณ์ของงานหัตถศิลป์ของชนชาติตะวันออกที่สืบสานกันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานนับแต่อดีตกาล ลวดลายของเส้นสายที่สอดประสานกันนั้น เป็นวิถีที่คุ้นเคยและอบอุ่นของชาวเอเชีย สื่อความหมายถึงคำกล่าวต้อนรับชนทุกชาติ และพลังแห่งเอเชียในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ทั้งยังมีนัยสำคัญ คือ เป็นการสอดประสาน ถักทอหรือรวมเข้าด้วยกัน สื่อความหมายถึงความร่วมมือกัน ความสมัครสมาน ความสามัคคี

สัญลักษณ์กีฬา เป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักทางกราฟิกที่มีบทบาทอย่างสูงกำหนดเอกลักษณ์ของการแข่งขันที่สาขาศิลปกรรมและการออกแบบเพิ่มเติมขึ้นมาในระบบ เพื่อช่วยให้การสร้างภาพลักษณ์ของการแข่งขันมีความเด่นชัด เป็นสากล มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน และเพิ่มสุนทรียภาพแก่การแข่งขัน สัญลักษณ์ที่ออกแบบในครั้งนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 42 ชนิดกีฬา โดยแบ่งเป็นกลุ่มได้ 3 กลุ่ม ดังนี้

การจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 คณะกรรมการได้กำหนดกรอบแนวคิดในการดำเนินการจัดพิธีเปิด-ปิดการแข่งขัน โดยต้องแสดงออกถึงการถ่ายทอดปรัชญา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเป็นไทย การดำเนินวิถีชีวิตของชนชาติไทย วิวัฒนาการสู่อนาคตของคนไทย โดยบ่งบอกถึงการแสดงออกซึ่งความเป็นชาวเอเชีย ความเป็นสากลทางการกีฬา โดยให้สอดคล้องกับคำขวัญของการแข่งขันครั้งนี้ คือ "มิตรภาพไร้พรมแดน Friendship Beyond Frontiers" อีกทั้งดำเนินการให้เป็นไปตามธรรมนูญของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (OCA) ภายในเวลาที่กำหนดไว้ไม่เกิน 3 ชั่วโมง

คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้คัดเลือก บริษัท เจเอสแอล จำกัด เป็นผู้ดำเนินการจัดพิธีเปิด-ปิดการแข่งขัน โดยพิจารณาจากการนำเสนอความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่ ความเป็นสากลในรูปแบบการแสดง การใช้เทคนิคพิเศษ แสง สี เสียง ศักยภาพของบริษัท ตลอดจนแม่บทในการดำเนินงาน

จุดประสงค์และประเด็นหลักของการจัดพิธีเปิด-ปิดครั้งนี้ คือ แสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของเอเชีย ถ่ายทอดความเป็นไทย ความเป็นสากลทางการกีฬา ศักยภาพและมาตรฐานในการจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติของประเทศไทย โดยจัดให้มีความยิ่งใหญ่ตระการตา โดยเน้นความประหยัด และประชาสัมพันธ์ประเทศไทยให้สอดคล้องต่อปีแห่งการท่องเที่ยว Amazing Thailand

ต่อมา คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้มีมติให้ บริษัท เจเอสแอล จำกัด ปรับลดเวลาในการจัดแสดงพิธีเปิดและพิธีปิดให้กระชับลงกว่าเดิม พิธีเปิดจากเดิมใช้เวลา 3 ชั่วโมงให้คงเหลือ 2 ชั่วโมงครึ่ง และพิธีปิดจากเดิมใช้เวลา 3 ชัวโมงครึ่ง ให้คงเหลือ 2 ชั่วโมง เพื่อให้มีช่วงเวลาเหมาะสมเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดและทอดพระเนตรการแสดง ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน

ในครั้งนี้ ประเทศไทยในฐานะประเทศเจ้าภาพได้ประมวลภาพหมู่ประเทศสมาชิกมาเป็นสัญลักษณ์ อันจะเสนอให้โลกรับรู้ได้ถึง "SPIRIT OF ASIA" หรือ "จิตวิญญาณแห่งบูรพา" โดยทำให้ภาพกระจ่างชัด ด้วยการแบ่งออกเป็น 4 ช่วง และมีความหมายโดยนัยอีกหนึ่งระดับ คือ

พิธีเปิดราชมังคลากีฬาสถานและพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 จัดขึ้นในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ณ ราชมังคลากีฬาสถาน โดย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธี ในการนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และ หม่อมเจ้าสิริวัณวรี มหิดล โดยเสด็จด้วย การจุดไฟในกระถางคบเพลิงเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2541 นักวิ่งคบเพลิงมอบให้ สมรักษ์ คำสิงห์นำไปจุดไฟที่บุษบก. ก่อนที่ไฟในบุษบกจะพุ่งไฟไฟใส่กระถางคบเพลิง ระหว่างนั้นชาวพนักงานรัวเปิงและประโครมสังข์คั้นไปด้วย

พิธีปิดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 จัดขึ้นในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ณ ราชมังคลากีฬาสถาน โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ เป็นองค์ประธานในพิธี ในการนี้ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และ หม่อมเจ้าสิริวัณวรี มหิดล โดยเสด็จด้วย


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301